วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนวการจัดการเรียนการสอน

   1. การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรม อุปกรณ์การเรียนการสอนในแต่ละพฤติกรรม ควรยืดหยุ่นตามเหตุการณ์สภาพแวดล้อม ความสนใจ ความต้องการที่จำเป็นและความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
      2. ผู้สอนควรจัดแผนการเรียนการสอนโดยผสมผสานการสอนแบบตัวต่อตัวไปกับการสอนแบบกลุ่มย่อยและแบบกลุ่มขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพและยังคงมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างเหมาะสม
      3.  ผู้สอนควรคำนึงถึงวิธีการสอนเชิงพฤติกรรม   ซึ่งจะช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป   พร้อมทั้งเพิ่มความมั่นใจในตัวเองขึ้น   เช่น วิธีการให้แรงเสริม การสอนแบบกระตุ้นเตือน การเลียนแบบ การวิเคราะห์งาน การตะล่อมกล่อมเกลาพฤติกรรมนำทางไปสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์เป็นต้น
     4.  ผู้สอนควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเอาทักษะที่เรียนรู้แล้วในชั้นเรียนไปฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียนในสถานศึกษาหรือที่บ้านของผู้เรียนให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีผลส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือตนเอง และดำรงชีวิตได้
     5.  ผู้สอนควรได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ การศึกษา สังคมและอาชีพ ให้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล  เช่นเดียวกับผู้ปกครองของผู้เรียน
เวลาเรียน
            ตลอดแนวการพัฒนาหลักสูตรพิเศษฉบับนี้ ใช้เวลาเรียนอย่างน้อย 7 ปี   แต่ละปีควรมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 40 สัปดาห์ ทั้งนี้รวมแล้วต้องไม่ต่ำกว่า 240 ชั่วโมง  สำหรับช่วงอายุพัฒนาการ  0 3   ปี   ไม่ต่ำกว่า 360 ชั่วโมง สำหรับช่วงอายุพัฒนาการ 3 5 ปี   ไม่ต่ำกว่า 480 ชั่วโมง สำหรับช่วงอายุพัฒนาการ   5 7   ปี
การจัดเวลาเรียนในแต่ละช่วงอายุทางพัฒนาการ    ควรคำนึงถึงดังนี้
1.            ช่วงอายุทางพัฒนาการ 0 3 ปี
        มีเวลาเรียนในชั้นเรียนและที่บ้านต่อเนื่องกัน   โดยสัปดาห์หนึ่งมีเวลาเรียนในชั้นอย่างน้อย 3 วัน รวมแล้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ( วันละ 2 ชั่วโมง )   สำหรับการสอนทักษะแบบตัวต่อตัว เป็นกลุ่มย่อย รวมทั้งการฝึกทางกายภาพบำบัด
2.            ช่วงอายุทางพัฒนาการ 3 5 ปี
        ควรจัดเรียนในชั้นอนุบาลหรือชั้นพิเศษ    โดยสัปดาห์หนึ่งมีเวลาเรียนในชั้นเรียนอย่าง-น้อย 3 วัน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมง ( วันละ 3 ชั่วโมง ) สำหรับการสอนทักษะแบบตัวต่อตัว เป็นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่   ซึ่งไม่นับรวมเวลาการฝึกโดยตรงจากนักบำบัด
3.            ช่วงอายุทางพัฒนาการ 5 7 ปี
         ควรเรียนในชั้นเด็กเล็กเพื่อเตรียมความพร้อม  หรือ ชั้นพิเศษ โดยสัปดาห์หนึ่งมีเวลาเรียนในชั้นเรียนอย่างน้อย  4 วัน   รวมแล้วไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง     แต่ไม่ควรเกินกว่า 18 ชั่วโมง    ( วันละ 3 5 ชั่วโมง  ) สำหรับการสอนทักษะแบบตัวต่อตัว  เป็นกลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่   ซึ่งทั้งนี้ไม่นับรวมเวลาการฝึกโดยตรงจากนักบำบัด
การประเมินผล
              การประเมินทักษะการเรียนตามแนวการพัฒนาหลักสูตรพิเศษฉบับนี้   เป็นการประเมินทักษะเพื่อสำรวจความสามารถขั้นพื้นฐานของผู้เรียน เพื่อวัตถุประสงค์ในการวางแผนการเรียนการสอน และเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน  ร่วมกับผู้ปกครองของผู้เรียน ศึกษานิเทศก์
และหรือนักวิชาการศึกษาพิเศษในเขตการศึกษาที่สถานศึกษานั้นสังกัดอยู่
       การประเมินทักษะการเรียนของแต่ละกลุ่มทักษะนั้น   อาจกระทำเป็นสองระยะคือ   ก่อนจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล   และภายหลังหรือปลายปีการศึกษา นอกจากนี้อาจกระทำในระหว่างการเรียนการสอน    กล่าวคือ  เมื่อจะสิ้นสุดการสอนกิจกรรมแต่ละครั้งนั้น หรือตามที่กำหนดในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล   ทั้งนี้อาศัยการสังเกตพฤติกรรมตามพัฒนาการปกติ การสัมภาษณ์ซักถาม   การตรวจสอบผลงานที่นักเรียนปฏิบัติไว้   การทดสอบในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน   ประกอบกับความร่วมมือ   ความมั่นใจ   ช่วงความสนใจ สภาพการมองเห็น และสภาพการได้ยินในขณะทดสอบ   การบันทึกผลที่ได้จากการประเมินทักษะการเรียน    ให้จัดรวบรวมลงในสมุดบันทึกพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคน  (หรือจัดเป็นสมุดบันทึกพัฒนาการในชั้นเรียน )   ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องอาจขอทำการตรวจสอบได้ง่าย    การพิจารณาผลประจำปีเพื่อ-
การจัดกลุ่ม  เลื่อน หรือปรับชั้นเรียนให้กับผู้เรียนนั้น สถานศึกษาควรจัดทำอย่างสม่ำเสมอ

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

การจัดระบบการเรียนการสอน
  การเรียนการสอน
                หมายถึง  การจัดสถานการณ์  (SITUATION)   สภาพการณ์   (CONDITION)  หรือกิจกรรม  (ACTIVITIES)  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยสะดวกและง่ายดายซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงามและพัฒนาทั้งทางกาย สมอง อารมณ์ และสังคม ซึ่งครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอนเหล่านี้
ทัศนะของการเรียนการสอน   แบ่งได้  3 ทัศนะใหญ่ คือ
              1.ความหมายของการสอนที่เกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ
             2.ความหมายของการสอนเกี่ยวกับทักษะ
            3.ความหมายของการสอนที่เกี่ยวกับความเจริญงอกงาม
1)     ความหมายของการสอนที่เกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ
           หมายถึง  การถ่ายทอดความรู้เป็นกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนให้แก่ผู้เรียนการแนะแนว  ให้ศึกษาให้ค้นคว้า ให้รู้วิธีที่จะได้ความรู้ด้วยตนเอง โดยการค้นหาจากแหล่งที่ถูกต้อง  ใช้วิธีค้นหาที่เหมาะสมตลอดจนการจัดประสบการณ์และกิจกรรมต่างๆให้กับผู้เรียนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วยเพื่อแก้ความเข้าใจผิดให้เข้าใจถูก ทำสิ่งที่ไม่ชัดเจนให้ชัดเจน
2)     ความหมายของการสอนเกี่ยวกับทักษะ
          หมายถึง    การฝึกฝนสมรรถภาพในการศึกษา  เพื่อให้เกิดเป็นนิสัยฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ  และแก้ไขการฝึกฝนที่ผิดด้วยวิธีให้ถูก        
 3)     ความหมายของการสอนที่เกี่ยวกับความเจริญงอกงาม
           หมายถึง การส่งเสริมความเจริญงอกงามทุกวิถีทางให้แก่ผู้เรียนทั้งทางด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  สติปัญญา  ความคิด   ทัศนคติ  อุปนิสัย  รวมทั้งความประพฤติและความสามารถในด้านต่างๆ อันเป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคมต่อไป
    การเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้กระบวนการหรือวิธีการหาความรู้ไปพร้อมๆกันกับความรู้อันเป็นผล เพราะการที่คนจะก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลง คนทุกคนจะต้องเป็นผู้ที่ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ หรือเรียกอีกอย่างว่าต้องเป็นผู้ศึกษาตลอดชีวิตจึงเป็นหน้าที่ของโรงเรียนจะต้องสร้างนิสัยในการศึกษาตลอดชีวิตให้แก่ผู้เรียนด้วยโดยโรงเรียนต้องคำนึงถึงวิธีสอนวิธีเรียน มีความสำคัญไม่น้อยกว่าผลการเรียน
    การเรียนการสอน  ย่อมประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายด้าน  องค์ประกอบต่างๆนี้จะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องเป็นระบบแบบแผน  ความสัมพันธ์ต่อเนื่องอย่างเป็นระบบนี้จึงเรียกการเรียนการสอนนี้ว่า    กระบวนการเรียนการสอน
    กล่าวโดยสรุปได้ว่า  การเรียนการสอนเป็นกระบวนการในการให้ความรู้ที่กำหนดจุดประสงค์แน่นอน  และมีองค์ประกอบอื่นๆมาเกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ
องค์ประกอบในการเรียนการสอน   มี  2   ด้าน คือ
   1.องค์ประกอบในการเรียนการสอนด้านตัวครู
  2.องค์ประกอบในการเรียนการสอนด้านผู้เรียน
(1)    องค์ประกอบในการเรียนการสอนด้านตัวครู
          ในการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในชาตินั้นได้ยึดระบบการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2535   ซึ่งเป็นระบบที่ให้บุคคลได้ศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต โดยจัดรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวระบบโรงเรียนและการศึกษาที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตโดยมีระบบดังต่อไปนี้
1.   ระบบการศึกษา
         สำหรับการศึกษาตามแนวระบบโรงเรียนแบ่งระดับการศึกษาเป็น  4   ระดับ  คือ  ระดับก่อนประถมศึกษา  ระดับประถมศึกษา  ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา
1.  การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
     เป็นการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาความพร้อมของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  อารมณ์  บุคลิกภาพและสังคมเพื่อรับการศึกษาในระดับต่อไป 
 การจัดการเรียนรู้ในระดับนี้เป็นการจัดให้แก่เด็กกลุ่มอายุ 
3-5   ปี โดยจัดเป็นชั้นอนุบาล หรือชั้นเด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาเด็กประเภทต่างๆตามลักษณะพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย
2. การศึกษาระดับประถมศึกษา
    เป็นการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งรัฐบาลต้องการให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาระดับนี้อย่างทั่วถึง  เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์  ทั้งคุณธรรม  จริยธรรม   ความรู้และความสามารถขั้นพื้นฐานโดยจัดเป็นชั้น ป.1-6   รวม  6  ปี
3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งออกเป็น   2  ตอน
          -ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การศึกษาระดับนี้รัฐบาลได้มีนโยบายกำหนดให้เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนและรณรงค์ให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนต่อในระดับนี้อย่างทั่วถึงโดยจัดเป็นชั้น  ม.1-3 (3  ปี)  มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณภาพ  ความรู้  ความสามารถและทักษะต่อจากระดับประถมการศึกษาในระดับนี้ต้องการให้เรียนได้สำรวจตนเองทั้งในด้านความต้องการความสนใจและความถนัดทางด้านวิชาการและวิชาชีพ
          -ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาในระดับนี้มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัดและความสนใจ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาหรือเพื่อการประกอบอาชีพ  โดยจัดเป็น  2   ประเภท คือ จัดเป็นการศึกษาสามัญ ชั้นปีที่ 4-5-6 (3 ปี) สำหรับการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ และจัดเป็น-การศึกษาวิชาชีพ หรืออาชีวศึกษาชั้น ปวช .1-2-3(3 ปี) สำหรับการประกอบการงานและอาชีพหรือศึกษาต่อในระดับสูง(ปวส. ปวท. หรืออนุปริญญา/ปริญญาตรี)
4.   การศึกษาระดับอุดมศึกษา
          เป็นการศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแบ่งออกเป็น  3   ระดับ คือ
-                   ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
        มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้และทักษะวิชาชีพในระดับกลางหรืออนุปริญญา(2  ปี) 
-                   ระดับปริญญาตรี
       มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ความสามารถในสาขาต่างๆในระดับสูง  โดยประยุกต์ทฤษฎีนำไปสู่การปฏิบัติ
-                   ระดับสูงกว่าปริญญาตรี
      มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ และทักษะในสาขาเฉพาะทางให้มีความชำนาญมากยิ่งขึ้น สร้างสรรค์ความก้าวหน้าและความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเฉพาะการศึกษาค้นคว้าวิจัย  และการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีในด้านต่างๆ เพื่อการประยุกต์ใช้กับวิทยาการสากล  และภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย การศึกษาในระดับนี้ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาโดยจัดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก 
ส่วนประกอบของระบบ
           ระบบประกอบด้วยส่วนสำคัญมี  4   ประการ และมีความสัมพันธ์กัน คือ
1. ตัวป้อน    ( Input )
2. กระบวนการ ( Process )
3. ผลผลิต  ( Out  put )
4. ข้อมูลป้อนกลับ ( Feed  back )
2.              ระบบการเรียนการสอน
ความสำคัญของระบบการเรียนการสอน 
1.การทำงานอย่างเป็นระบบนั้นสิ่งต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของระบบ จะอยู่ด้วยกันอย่างมีระเบียบ ไม่มีความสับสน และไม่มีความขัดแย้งกันในองค์ประกอบเหล่านั้น
2.การทำงานอย่างเป็นระบบจะเป็นไปได้ด้วยความสะดวก  รวดเร็ว  ประหยัดทั้งแรงงาน  เวลา และค่าใช้จ่าย
3.งานทุกอย่างจะสำเร็จตามเป้าหมายและได้ผลอย่างเต็มที่
4.การสอนอย่างเป็นระบบนั้นเป็นแนวทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถจะพิสูจน์ทดลองได้
       ระบบการเรียนการสอนเป็นระบบย่อยในระบบการศึกษาหรือระบบโรงเรียน ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยต่างๆซึ่งมีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน ส่วนที่สำคัญ คือ  กระบวนการเรียนการสอนผู้สอนและผู้เรียนการเรียนการสอนจะมี ประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดจะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ในส่วนต่างๆในระบบ
            การตรวจสอบของประสิทธิภาพของการเรียนการสอนนั้นได้โดยการประเมินผลและเมื่อผลที่ออกมายังมีข้อบกพร่องก็จะต้องไปปรับปรุงส่วนประกอบในระบบต่างๆต่อไป
องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอน
           ในกระบวนการเรียนการสอนทุกระดับ   จะประกอบด้วย  5   องค์ประกอบ   คือ
-                   องค์ประกอบที่ 1  ผู้สอน
     ผู้สอนจะต้องมีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนมาก  จนถึงกับมีความเชื่อกันว่าผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สูงกว่าผู้เรียนมากจึงจะเกิดผลดีแก่การถ่ายทอดความรู้  ถ้าผู้เรียนกับผู้สอนมีความรู้เสมอกัน  การถ่ายทอดความรู้ก็จะไม่เกิดผล
-                   องค์ประกอบที่ 2  ผู้เรียน
     องค์ประกอบที่ผู้เรียนนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมาก  ก่อนที่ผู้สอนจะลงมือทำการสอนจะต้องศึกษาผู้เรียนให้ละเอียดทุกด้านก่อนที่จะลงมือสอน  และในขณะเดียวกันผู้สอนจะต้องศึกษาตนเองคือ  ศึกษาหาความรู้และยุทธวิธีที่จะนำไปใช้ในการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ต้องการ
-                   องค์ประกอบที่ 3  หลักสูตร
     หลักสูตรเปรียบเสมือนเข็มทิศ หรือ แผนที่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในกระบวนการเรียนการสอนที่จะบ่งบอกให้ผู้เรียนได้รับทราบว่าจะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้ไปสู่จุดมุ่งหมายได้
-                   องค์ประกอบที่ 4  สื่อการสอน
      สื่อการเรียนการสอน   หมายถึง  เครื่องมืออุปกรณ์ทั้งหลาย เช่น ชอล์ค กระดานดำ  แผนภูมิ  แผ่นภาพ  ตำราวารสาร  หนังสือ  ฯลฯ  วิธีการใช้สื่อการเรียนการสอนจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน และสอดคล้องกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนและผู้สอนด้วย
-                   องค์ประกอบที่ 5  การวัดและการประเมินผล
               องค์ประกอบของการเรียนการสอนที่สำคัญประการสุดท้ายนี้ก็คือการวัดผลและประเมินผล  ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญขององค์ประกอบในการเรียนการสอน ในแผนภูมิที่ 11 จึงจัดเอาการวัดผลประเมินผลไว้ตรงกลาง และเชื่อมโยงลูกศรไปยังองค์ประกอบอื่นๆอีก   4 ด้าน   การวัดผลประเมินผลในองค์ประกอบการเรียนการสอนนั้นเป็นส่วนที่สำคัญมากและจะใช้ข้อมูลย้อนกลับ (Feed  back) ไปสู่การปรับปรุงทั้งผู้สอน  ผู้เรียน  หลักสูตร  และสื่อการเรียนการสอน
            ในการจัดการเรียนการสอนนั้น รูปแบบและระบบการเรียนการสอนรวมทั้งขั้นตอนกระบวนการรูปแบบการเรียนการสอนจะช่วยให้การสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทำให้ครูและนักเรียนเห็นองค์ประกอบที่สัมพันธ์กัน ประหยัดเวลา งบประมาณและประเมินผลได้สะดวกซึ่งทำให้เห็นข้อบกพร่องของการดำเนินงานและสามารถปรับปรุงได้
(2)     องค์ประกอบในการเรียนการสอนด้านผู้เรียน
    ผู้เรียนเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระบบการเรียนการสอนที่ขาดไม่ได้ ครูผู้สอนจะต้องเข้าใจลักษณะของผู้เรียนในด้านต่างๆเป็นอย่างดี เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล  ความสนใจ  ความต้องการ  เป็นต้น   เพื่อที่จะได้ดำเนินการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียน  ซึ่งเป็นผลทำให้การเรียนการสอนบรรลุตามจุดมุ่งหมายตามที่วางไว้
 1.ผลดีของการรู้จักผู้เรียน
-ช่วยในการกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนให้มีความเหมาะสม
-ช่วยให้กำหนดเนื้อหาวิชาที่จะนำมาสอนเป็นไปได้อย่างเหมาะสมกับระดับความรู้และความสามารถของผู้เรียน
-ช่วยใช้ในการแบ่งกลุ่มผู้เรียนหรือมอบหมายงานให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน
-ช่วยให้ผู้สอนรู้ว่าระหว่างการเรียนการสอนควรที่จะช่วยผู้เรียนกลุ่มใด  หรือคนใดเป็นกรณีพิเศษ  เพื่อที่จะทำให้สามารถเรียนรู้ได้ทันผู้อื่น
2.การเตรียมผู้เรียนให้เรียนให้เกิดความพร้อม
      ความพร้อม  หมายถึง  ความสามารถที่จะเรียนรู้ ความพร้อมในการเรียนของเด็กจะขึ้นอยู่กับ  ระดับวุฒิภาวะทางร่างกาย  สติปัญญาตลอดจนความสามารถที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้สิ่งนั้นๆ  การเตรียมให้ผู้เรียนเกิดความพร้อม  มี   3   ลักษณะ   คือ
1.การเตรียมทางด้านสิ่งแวดล้อมทางกาย   ได้แก่
-การจัดที่นั่งเพื่อสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นถัดไป
-การจัดอุปกรณ์การเรียนสำหรับกลุ่ม  หรือสำหรับรายบุคคล
-การแนะนำวิธีการเฉพาะอย่างของกิจกรรมที่กำลังจะทำ
2.การเตรียมทางด้านสติปัญญาหรือความคิด
-การสัมพันธ์สิ่งใกล้ตัวไปหาความรู้ใหม่
-การทบทวนความรู้เก่าที่จะนำไปใช้ในเรื่องใหม่
-การแนะนำหัวข้อสำคัญในการเรียน
-การสมมุติเรื่องเพื่อให้ผู้เรียนตั้งใจคิดตอบสนองต่อบทเรียน
3.การเตรียมด้านความสนใจและอารมณ์
        บรรยากาศในการเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก   นอกจากบุคลิกภาพของครู  อาจจะใช้วิธีเหล่านี้เพื่อการเร้าความสนใจ
-เสนอวัสดุอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะสอน
-ให้นักเรียนทำกิจกรรมบางอย่างให้สัมพันธ์บทเรียน
3.การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน
       บรรยากาศในชั้นเรียนจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการกระบวนการการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศทางจิตวิทยาซึ่งผู้สอนเป็นผู้ที่กำหนดให้มีขึ้นบรรยากาศทางกายภาพ ได้แก่ อาคารสถานที่  ห้องเรีย และสื่อการเรียนการสอนส่วนบรรยากาศทางสังคมนั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ครูต้องคำนึงถึงด้วย  เพราะจะสนับสนุนซึ่งกันและกันต่อกระบวนการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
   ผู้สอนเป็นบุคคลที่สำคัญในการที่จะวางแผนกิจกรรมการเรียนการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นได้จากการสร้างบรรยากาศต่อไปนี้
1.บรรยากาศแห่งความใกล้ชิด
2.บรรยากาศที่มีความอบอุ่น
3.บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ
4.บรรยากาศแห่งความสำเร็จ
5.บรรยากาศที่ท้าทาย
6.บรรยากาศที่อิสระ
7.บรรยากาศแห่งการควบคุม
4.วินัย   (discipline)
     ลักษณะของวินัยที่ดี
1.   วินัยที่ดีนั้น  จะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของผู้ปฏิบัติ   ในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ
2.    การรู้ให้สิทธิ  และหน้าที่ของตนและผู้อื่น
3.    มีความสามัคคีและปรองดองในหมู่คณะ
4.    มีความเคารพซึ่งกันและกัน   ระหว่างครูกับนักเรียน    และนักเรียนกับนักเรียน
5.     เด็กจะมีความเจริญงอกงามทุกวิถีทาง  ทั้งทางกาย  สมอง  อารมณ์และสังคม
6.     จะรู้จักบังคับตนเองให้มีระเบียบ   ศีลธรรม   วัฒนธรรม   มารยาที่ดี   คือการสร้างวินัยในตนเอง
 5.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
         ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน   ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1.   บุคลิกภาพของผู้สอน
2.   การวางตัวต่อผู้เรียน
3.   การปฏิบัติการสอน

1. บุคลิกภาพของผู้สอน
      เป็นสิ่งที่จูงใจให้ผู้เรียนมีความคิด  และความรู้สึกที่ดีต่อโรงเรียนจากการสัมภาษณ์  และการสังเกตในห้องเรียนปรากฏว่า   ผู้เรียนชอบเรียนกับผู้สอนที่มีบุคลิกภาพดี  พูดจาที่-ไพเราะ    รู้จักเอาใจใส่ผู้เรียน   เป็นมิตรที่ดี  มีความยุติธรรม   เข้าใจถึงความต้องการของแต่ละบุคคล  และเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ   เป็นผู้ที่มีอารมณ์ขัน   และผู้เรียนจะเคารพผู้สอนที่มีความสุภาพ   รักษาความเที่ยงตรง   ทำตัวถูกกาลเทศะ
2.  การวางตัวต่อผู้เรียน
        ผู้สอนต้องรู้จักการใช้อำนาจในห้องเรียน    การใช้อำนาจในห้องเรียนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย  ถ้าผู้สอนใช้อำนาจอย่างถูกต้อง   ก็จะได้รับผลดีในการปกครองชั้นเรียน   ถ้าผู้สอนใช้อำนาจผิดๆก็จะทำให้เกิดผลเสียได้   สิ่งที่กล่าวต่อไปนี้จะมีส่วนในการแปรเปลี่ยนอำนาจของผู้สอนไปได้ต่างๆกัน   คือ
      -    ความเคารพต่อบุคคล
      -     เรื่องส่วนตัว  และปัญหาทางวิชาชีพ
      -     เรื่องอคติ
3.  การปฏิบัติการสอน
              กาปฏิบัติการสอนของผู้สอนเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ความสัมพันธ์ของผู้เรียนที่มีต่อผู้สอนเปลี่ยนไปในทางที่ดีหือทางที่เลว   การสอนของผู้สอนในที่นี้หมายความกว้างว่าการสอนผู้เรียนในชั้นเรียนอย่างเดียว   แต่หมายรวมไปถึง   การเตรียมตัวของผู้สอน   การจัดเตรียม  วิธีการสอน   การให้การบ้านแก่ผู้เรียน   ระบบการให้คะแนน   การสอบ  และนโยบายการตัดสินการสอบได้   หรือการสอบตก  เป็นต้น